วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551

เอกสารประกอบการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์

ชื่อเรื่อง เอกสารประกอบการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางกวิศา สุนทรดี ครูชำนาญการ โรงเรียนตาเบาวิทยา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3


บทคัดย่อ

การดำเนินงานในครั้งนี้ มีจุดประสงค์ ประกอบด้วย เพื่อจัดทำและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรู้ สาระเศรษฐศาสตร์ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พัฒนาความรับผิดชอบ และเสริมสร้างความพึงพอใจต่อการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มเป้าหมายจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเป้าหมาย สำหรับการทดลองใช้เพื่อ การหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนรู้ เป็น จำนวน 41 คน และกลุ่มเป้าหมายสำหรับการนำเอกสารประกอบการเรียนรู้ไปใช้จริง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน จำนวน 6 ฉบับ แบบประเมินความรับผิดชอบ จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนก่อน และหลังเรียน ด้วยค่า t (Dependent Sample) ผลการดำเนินงานพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียนรู้ สาระเศรษฐศาสตตร์ กลุ่มสารการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดทำและพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ ดังนี้
1.1 เอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น มีประสิทธิภาพ 86.67 และ 81.67
1.2 เอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง ทรัพยากรทางเศรษฐศาสตร์ มีประสิทธิภาพ 89.13 และ 83.33
1.3 เอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การผลิต มีประสิทธิภาพ 90.38 และ 82.22
1.4 เอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การบริโภค มีประสิทธิภาพ 88.89 และ 81.00
1.5 เอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การแลกเปลี่ยน มีประสิทธิภาพ 89.78 และ 85.00
1.6 เอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การออมและการลงทุน มีประสิทธิภาพ 90.48 และ 82.00
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2551 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระเศรษฐศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และเป็นไปตามเกณฑ์สถานศึกษากำหนด
3. นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อการเรียน สาระเศรษฐศาสตร์ อยู่ในระดับ มาก
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน สาระเศรษฐศาสตร์ อยู่ในระดับ มาก